3 พฤษภาคม 2017 ริมถนนแห่งหนึ่งในซัลฟอร์ด ระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจขับรถตระเวนดูความเรียบร้อย ได้พบชายคนหนึ่งเดินอยู่ เขามีท่าทางแปลกๆ หลังจากได้เข้าไปพูดคุยด้วยจึงรู้ว่าเขาอยากฆ่าตัวตาย
ชายคนนั้นคือ อารอน เลนนอน
ตอนนั้นตำรวจเองก็ตกใจระคนแปลกใจอย่างมาก เพราะนี่คือแข้งแถวหน้าของพรีเมียร์ลีก เคยพีกถึงขั้นติดทีมชาติอังกฤษ มีรายได้จากการเป็นนักเตะอาชีพที่งดงาม แล้วทำไมจึงตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้
เมื่อปีก่อน เลนนอน ยังอยู่กับ เอฟเวอร์ตัน และแทบไม่ได้ลงเล่นเลย อีกทั้งยังโดนอาการบาดเจ็บตามรังควาน จนสูญเสียความเชื่อมั่น ส่งผลกระทบกับจิตใจที่เปราะบางเป็นทุนเดิม
เลนนอน ร้างสนามไปนานถึง 4 เดือนทำให้เครียดมาก หวั่นว่าจะโดนยกเลิกสัญญาหรือขายทิ้ง กลัวจะหมดอนาคตบนถนนลูกหนัง
โรนัลด์ คูมัน ผู้จัดการทีมเอฟเวอร์ตันตอนนั้น บอกว่าสภาพร่างกายของปีกร่างเล็ก ไม่พร้อมสำหรับลงเล่น ต้องไปเรียกความฟิตให้กลับมาแกร่งกว่านี้ก่อน
แต่หารู้ไม่ว่าสภาพจิตใจทรุดหนักกว่าร่างกายซะอีก
ปัญหาที่สำคัญคือ เขาชอบเก็บงำปมในใจเอาไว้ ไม่ยอมระบายให้ใครฟังแม้กระทั่งคนใกล้ตัว
เขาแยกทางกับแฟนสาวที่คบกันมาหลายปี เหมือนอยู่ตัวคนเดียวโดดเดี่ยว บางครั้งก็ปลีกตัวเองออกมาจากเพื่อนฝูง หากใครจำกันได้เราแทบไม่เคยเห็นรอยยิ้มฉาบใบหน้าเลย
สีหน้าที่นิ่งเงียบ กลายเป็นเอกลักษณ์ของ เลนนอน เสมอมา
ทันทีที่ตำรวจตรวจสอบเรียบร้อย ได้ส่งเขาไปโรงพยาบาลเลย เพราะอาการอย่างนี้ปล่อยไว้ไม่ได้เด็ดขาดและไม่ควรจมกับตัวเองคนเดียว
ทอฟฟี่สีน้ำเงินในฐานะต้นสังกัดประกาศสนับสนุนดูแลอย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับเพื่อนร่วมอาชีพอีกมากมาย ที่แห่ส่งกำลังใจผ่านโซเชี่ยล
เพราะหลายคนเข้าถึงลึกซึ้งกับโรค "ซึมเศร้า" ที่เป็นอันตรายแห่งความเงียบดี
เลนนอน ไม่ใช่นักเตะคนแรกที่ต้องเผชิญหน้ากับโรคนี้ มีหลายแข้งเจอมาก่อนและไม่อาจผ่านมันไปได้ ต้องจบชีวิตลงในที่สุด
7 ปีที่แล้วเกิดข่าวสะเทือนใจวงการ เมื่อ แกรี่ สปีด อดีตนักเตะชั้นนำและผู้จัดการทีมเวลส์ ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองในบ้านพัก
ทั้งที่ในชีวิตจริงทุกคนมองว่า สปีด ไม่น่ามีปัญหาอะไร ทุกอย่างดูสมบูรณ์พูนสุขเหลือเกิน ไม่ว่าความสำเร็จตอนเป็นผู้เล่นหรือความก้าวหน้าเมื่อผันตัวมาเป็นกุนซือ
อีกทั้งยังไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่ข้องแวะการพนัน มุ่งมั่นทำงานอย่างหนักตามสไตล์
แต่เพราะปมบางอย่างที่เขาเก็บงำซ่อนเร้นเอาไว้ ไม่ยอมบอกใคร เหมือนอย่างที่ เล็สลี่ย์ พี่สาวเล่าให้ฟัง
สปีด เลือกที่จะสู้กับตัวเองเท่านั้น กระทั่งเป็นฝ่ายพ่ายแพ้มัน
หากเขาเปิดปากเปิดใจกับใครสักคนบางทีเราอาจไม่ต้องสูญเสียบุคลากรฟุตบอลที่สำคัญ
โรเบิร์ต เอ็งเค่ อดีตผู้รักษาประตูทีมชาติเยอรมันที่อยู่ในชุดฟุตบอลโลก 2006 ก็จากไปอย่างน่าสลดด้วยวิธีการไม่ต่างกันนัก
แต่ของ เอ็งเค่ ดูจะหนักหน่วงกว่า ตรงที่ขับรถไปให้รถไฟชนเพื่อจบชีวิตในปี 2009
เอ็งเค่ นั้นเป็นคนซีเรียสเครียดหนักมาตลอด นับตั้งแต่ลูกสาวที่เกิดมามีปัญหาเรื่องสุขภาพ เขาพยายามเหลือเกินที่จะผ่านมันให้ได้ แม้จะมีภรรยาปลอบประโลมอยู่ข้างๆ แต่มันก็ไม่อาจฝืนใจเดินหน้าต่อไป
ในรอบหลายปีที่ผ่านมามีหลายแข้งที่ต้องรับมือกับโรคซึมเศร้านี้ อย่างที่เราพอจำได้ก็คือ เซบาสเตียน ไดส์เลอร์ ที่เคยได้รับการยกย่องเป็นไอ้หนูมหัศจรรย์ของลูกหนังเยอรมัน แต่เพราะแบกรับความคาดหวังและแรงกดดันมากเกินไป เลยทำให้เขาเลือกที่จะแขวนสตั๊ดอย่างรวดเร็ว
เดวิด เบนท์ลี่ย์ ซึ่งเคยก้าวไปไกลถึงติดทีมชาติอังกฤษ ก็บอกลาค้าแข้งก่อนวัยสมควรเช่นเดียวกัน เพราะเจอโรคซึมเศร้าตามคุกคาม
เบรโน่ กองหลังดาวรุ่งพุ่งกระฉูดติดทีมชาติบราซิลตั้งแต่อายุไม่ถึง 20 แล้วย้ายไป บาเยิร์น มิวนิค ก่อนจะบาดเจ็บไม่ได้เล่นจนความเครียดรุมเร้า แล้วตัดสินใจเผาบ้านเพื่อฆ่าตัวตายเมื่อปี 2011
ยังโชคดีที่ว่ามีคนมาช่วยได้ทัน ไม่อย่างนั้นอาจจะสำลักควันเสียชีวิตไปแล้ว
เหมือน เลนนอน หากว่าไม่มีตำรวจมาเห็นก่อน เขาอาจตัดสินใจชนิดช็อคความรู้สึกใครหลายคน...
---------------
“Aaron : We’re with You”
นี่คือป้ายผ้าหรือแบนเนอร์ขนาดใหญ่ติดไว้ที่กูดิสัน พาร์คสังเวียนแข้ง เอฟเวอร์ตัน หลังเกิดเรื่องไม่เท่าไร
อย่างที่รู้กันพอข่าวแพร่ออกไป กำลังใจมาสู่ เลนนอน ก็ล้นหลาม ทางสโมสรและแฟนทอฟฟี่ประกาศพร้อมจะช่วยเหลืออย่างเต็มที่ เพื่อให้ผ่านวิกฤตครั้งนี้
สแตน คอลลีมอร์ อดีตกองหน้าทีมชาติอังกฤษและลิเวอร์พูลก็เคยประสบชะตากรรมเช่นเดียวกัน เขาแนะนำเลยว่าถ้ารู้สึกจิตใจมันย่ำแย่เมื่อไร อย่าอยู่คนเดียวเป็นอันขาด ให้คุยกับใครสักคนที่ไว้ใจได้
การได้ปลอดปล่อยหรือระบายจะช่วยลดความตึงเครียด ดึงคนที่เป็นโรคนี้กลับสู่ภาวะที่ปกติได้ แม้จะชั่วคราวก็ยังดี
สมัยก่อนผู้คนยังไม่เข้าใจทำไมคนบางคนที่มีพร้อมทุกอย่างถึงต้องมาเป็นโรคนี้ มันน่าจะเหมาะกับคนที่ลำบากปากกัดตีนถีบมากกว่า
แต่ความนึกคิดของจิตใจ เราไม่อาจบังคับอะไรได้เลย
ที่สำคัญคนเป็นโรคนี้ต้องไม่อายหรือเก็บไว้ พูดออกมาให้มากที่สุด อย่างเคสของ เลนนอน ยังสามารถเป็นแบบอย่างช่วยเหลือผู้ป่วยคนอื่นอีกด้วย
อย่าดื่มเหล้า อย่าใช้ยาช่วย อย่าอยู่คนเดียว นี่คือสามอย่างสำคัญยามจิตใจหดหู่ เป็นสิ่งที่ต้องห้ามเด็ดขาด
พอเริ่มเข้ารับการบำบัด เลนนอน อาการก็เริ่มกระเตื้องขึ้นเรื่อยๆ ทุกอย่างเป็นไปในทิศทางที่น่าพอใจ จนกลับมาเล่นบอลได้ตามปกติอีกครั้ง
ต้องขอบคุณเอฟเวอร์ตันและกำลังใจจากเพื่อนในวงการ แฟนบอล รวมทั้งความช่วยเหลือจากองค์กรต่างๆ ที่ทะลักกันเข้ามามากมาย
อย่างน้อยมันทำให้ เลนนอน สะท้อนใจได้ถึงความหมายของการมีชีวิตอยู่..
-----------------------
"เบิร์นลี่ย์ ช่วยให้ผมกลับมารักฟุตบอลอีกครั้ง"
เลนนอน เปิดใจไว้ล่าสุดอย่างนี้ หลังย้ายจาก เอฟเวอร์ตัน มายัง เบิร์นลี่ย์ โดยเซ็นสัญญาสองปีครึ่งเมื่อฤดูร้อนที่ผ่านมา
เขาไม่อยู่ในแผนการสร้างทีมของทอฟฟี่สีน้ำเงิน แต่ก็เข้าใจดีทุกอย่างตามสถานการณ์ อีกทั้งสโมสรเปิดทางให้ย้ายและไม่น่าจะมีค่าตัวอะไรด้วย ต่อให้ไม่เปิดเผยรายละเอียดก็ตาม
ตั้งแต่ย้ายมานี่ เลนนอน ได้ลงสนามแบบต่อเนื่อง แม้ผลงานสโมสรจะไม่ได้ดีอะไรนัก อยู่โซนท้ายตารางและอาจต้องดิ้นรนหนีตายเมื่อเข้าสู่ปลายซีซั่น แต่นั่นไม่ได้ทำให้เขาเครียด
ความสุขที่แท้จริงของเขาคือได้ทำในสิ่งที่ต้องการ นั่นก็คือเล่นฟุตบอล
เลนนอน ยอมรับว่าตัดสินใจถูกมากๆ ที่ย้ายนี่ มันเป็นช่วงเวลาเหมาะสมที่จะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพื่อไปหาความท้าทายใหม่
เขาแสดงให้เห็นว่ายังมีพาสชั่นหรือความกระหายอย่างเต็มที่ โดยพร้อมจะพิสูจน์ให้เห็นด้วยผลงานในสนาม
ทุกคนที่เบิร์นลี่ย์ให้ความช่วยเหลือ เลนนอน อย่างดี รวมไปถึง ฌอน ไดช์ ผู้จัดการทีม ซึ่งเวียนมาคุยตลอดเวลา สร้างความอุ่นใจและเชื่อมั่นให้อย่างมาก
เราได้เห็นเขาหัวเราะเริงร่าและยิ้มมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่เงียบขรึมตีสีหน้านิ่งเหมือนสมัยก่อนอีก
หลายอย่างได้ปลดปล่อยออกมา เลนนอน ไม่ต้องแบกมันต่อไป เมื่อไม่ถือไว้ก็ไม่หนัก นั่นคือวิธีแก้และทางออกที่ดีสุดในการต่อสู้กับโรคนี้
เหนืออื่นใด ทุกคนคงยินดีมากๆ ที่ เลนนอน กลับมาแทบจะปกติแล้ว
รอยยิ้มและเสียงหัวเราะได้กลับคืนสู่หัวใจของขาอีกครั้ง..
ไม่มีความสำเร็จใดที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่าการได้รู้จักกับ "ตนเอง" Sbobet777 อยากช่วยให้ทุกคนค้นหาตัวเองให้เจอ ติดต่อมาที่ https://line.me/R/ti/p/@777sbo หรือ 08-44-9990 77, 88 , 99
รวมความคิดเห็น