สิ่งหนึ่งที่เราเห็นได้ชัดในกรณีฟุตบอลประเพณี "จุฬา-ธรรมศาสตร์" ซึ่งกำลังถูกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในตอนนี้คือ เจตนารมณ์ในการจัดการแข่งที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิมมาก
ฟุตบอลประเพณีเป็นโอกาสในการสร้างความสามัคคี รู้แพ้ รู้ชนะตามที่ทั้งสองสถาบันคาดหวังเอาไว้
ในหลายครั้งยังเป็นเวทีแจ้งเกิดให้กับนักฟุตบอลหลายคนที่สร้างชื่อได้สำเร็จก่อนก้าวสู่อาชีพเต็มตัว ไม่ใช่มีชื่อเสียงหรือเป็นทำมาหากินด้วยการเป็นนักฟุตบอลอยู่แล้ว
ทว่าตอนนี้มันไม่ใช่โดยสิ้นเชิง
การที่ทั้งสองสถาบันให้ความสำคัญกับการที่ "ต้องชนะ" ให้ได้ ก็ทำให้ไม่สนใจความเหมาะสมใดๆ ทั้งสิ้น และพร้อมทำทุกอย่างเพื่อชนะให้ได้
ต่างฝ่ายต่างเกณฑ์นักเตะทีมชาติเข้ามาอุปโลกน์เป็นนิสิต-นักศึกษากันมากมาย เรียน-ไม่เรียนไม่มีใครว่า แต่ต้องเล่นบอลประเพณี
ทำไมถึงต้องการเป็นผู้ชนะขนาดนั้น ?
ในเมื่อไม่ใช่การแข่งขันอาชีพ ไม่ได้สู้ยิบตาเพื่อเงินรางวัลมหาศาล ศักดิ์ศรีมันค้ำคอขนาดนั้นเลยหรือไงถึงแพ้ให้อีกฝ่ายไม่ได้
มึงดึงแข้งไทยลีกมาติด กูก็ต้องแข้งไทยลีก มึงล่อตัวทีมชาติใช่ไหม กูก็ต้องทีมชาติ (โว้ย)
เลยเถิดไปจนถึงนักเตะที่ดีที่สุดของไทยเรายุคนี้อย่าง "เจ" ชนาธิป สรงกระสินธ์ ที่ทางธรรมศาสตร์กำลังขอตัวกับทาง คอนซาโดเล ซัปโปโร ในเจลีกให้กับมาเล่นฟุตบอลประเพณี
บ้าไปแล้ว...
แค่อับอายและเป็นที่ติฉินนินทาในประเทศไม่พอ แต่นี่ทำตัวเองให้ต่างชาติดูถูกเข้าไปอีก ใครรู้ข่าวก็คงได้แต่เกาหัวแกรกๆ "บอลอะไรของพวกมึงว่ะ"
กีฬาอาชีพไปถึงไหนต่อไหนกันแล้ว นักกีฬาอาชีพจึงไม่ควรกลับมาเล่นฟุตบอลสมัครเล่น หรือ ฟุตบอลกระชับมิตรหลอกๆ แต่เตะกันเลือดตกยางออกแบบนี้
คงไม่มีใครลืมกรณีที่ อดิศักดิ์ ไกรษร กองหน้าทีมชาติไทยของเอสซีจี เมืองทอง ต้องพักยาว 8 เดือนเพราะเจ็บจากฟุตบอลประเพณีเมื่อปีที่แล้วได้
"เจ้ากอล์ฟ" สูญเสียโอกาสดีๆ ในชีวิตนักฟุตบอลที่ควรได้พัฒนาต่อเนื่อง ไม่ใช่นอนซมบนเตียงจนแทบเฉาตาย ขณะที่สังกัดอย่างเมืองทองก็ซวยไป เสียนักเตะฟรีๆ ทั้งฤดูกาล
แล้วใครรับผิดชอบ ?
ที่น่าแปลกใจอย่างมากคือ จุฬา-ธรรมศาสตร์ ต่างเป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง และสร้างบุคลากรดีๆ มากมายให้กับสังคมไทย เป็นใหญ่เป็นโต มีชื่อเสียงในหลากหลายวงการ แต่ทำไมถึงปล่อยให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้น
การแพ้ในบอลประเพณีมันอับอายขนาดนั้นเลยเหรอ ถ้าแพ้แล้วจะทำให้ไม่มีนักศึกษามาสมัครเล่นสถาบันของตัวเองยังไง...ซึ่งก็ไม่เกี่ยวกันเลย
ผม--ในฐานะคนเขียนไม่ได้จบทั้งสองสถาบัน ก็ยังมองว่า ชื่อชั้นระดับ "จุฬา-ธรรมศาสตร์" ต่อให้แพ้ฟุตบอลประเพณี 10 ปีติดแต่คนก็ยังอยากไปเรียนจนล้นโควตาทุกปีอยู่แล้ว
ไปๆ มาๆ แทนที่จะใช้การแข่งขันนัดนี้เพื่อสร้างสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้น จับมือกันสร้างมาตรฐานและมิติใหม่ๆ ให้กับสังคม กลายเป็นทำให้สถาบันมัวหมองไปเสียเอง ถูกสังคมตำหนิติเตียนถึงความเหมาะ
การใช้นักเตะไทยลีกลงเล่นมีสิทธิ์ทำได้ แต่ต้องเป็นนักเตะที่เรียนจริงๆ อาจเข้ามาด้วยโควตานักกีฬา หรือเป็นนักศึกษาคณะอื่นแต่คัดตัวติดได้ก็ว่ากันไป ไม่ใช่โผล่มาลงทะเบียนพอเป็นพิธี แล้วก็เล่นบอลอาชีพเป็นหลักตามเดิม ถึงเวลามาเตะบอลประเพณี
ก็ไม่เข้าใจอีกนั่นแหละว่าทำไมผู้หลักผู้ใหญ่ที่น่าจะทรงภูมิและมีปริญญาตรี-โท-เอกมากมายประดับชีวิตถึงปล่อยให้เจตนารมณ์ของฟุตบอลรายการนี้ผิดเพี้ยนไปขนาดนี้
มองในแง่คนไทยที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และควรต้องรู้จักปล่อยวางในบางสิ่งเพื่อไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นเกินไป ก็ยิ่งเป็นสิ่งตรงกันข้ามอย่างมากเมื่อมองไปที่ฟุตบอลประเพณีในปัจจุบัน
เพราะนี่คือการสร้าง "อีโก้" หรือ "อัตตา" ให้ตัวเองมากยิ่งขึ้น
"กูเด็กจุฬาฯเว้ย"
"กูก็ธรรมศาสตร์"
....ยอมไม่ได้หรอก
ศิษย์เก่าหลายคนที่จบมาจึงพกอีโก้ก้อนโตออกมาด้วย เวลาผ่านไปกี่สิบปีก็ยังบ้าสถาบันในทางที่ผิด คอยยกตนข่มท่าน และมองว่าตัวเองเหนือกว่าคนอื่น
สิ่งเหล่านี้มันคือการหล่อหลอมมาจากสิ่งที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบันซึ่งโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตามที
ฟุตบอลประเพณีคือหนึ่งในนั้น เพราะหากรู้จักปล่อยวาง และไม่ห่วงเรื่องศักดิ์ศรีกันแล้ว เรื่องง่ายๆ ที่ไม่ควรตกเป็นขี้ปากชาวบ้านก็คงไม่เกิดขึ้น
บางอย่างนั้นเอาแค่หอมปากหอมคอก็พอแล้ว เกินงามไปมันจะดูไม่ดี แต่สำหรับ Sbobet777 ที่นี่มีคำแนะนำและช่องทางเพิ่มทรัพย์สินให้คุณได้แบบไม่รู้จักหมด ติดต่อมาเลยที่ https://line.me/R/ti/p/@777sbo หรือ 08-44-9990 77, 88 , 99
รวมความคิดเห็น