บาร์เซโลน่าเพิ่งกำหนดวันเลือกตั้งประธานสโมสรและคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้
ถ้าดูตามกระแส วัดจากโพลต่างๆแล้ว โจน ลาปอร์ต้า มีโอกาสมากที่จะกลับมานั่งเก้าอี้อีกครั้ง
อย่างไรก็ดีหากได้รับเลือกจริง ลาปอร์ต้า ต้องเจอกับงานหนักอึ้งมากกว่าสมัยแรกที่กุมบังเหียนแน่นอน
ตอนฤดูกาล 2003/04 ที่ก้าวสู่บัลลังก์ หน้าที่ของเขาคือการนำบาร์ซ่ากลับมาผงาดอีกครั้ง ทั้งเฟ้นหากุนซือและนักเตะระดับคุณภาพมากอบกู้
ช่วงดังกล่าวบาร์ซ่ามีเงินในคลังมากมาย รายได้เข้าสู่ทีมมหาศาล มีงบประมาณสำหรับปรับปรุงอย่างเต็มที่
ต่างจากเวลานี้ลิบลับ ที่สถานะเข้าข่าย "ถังแตก" เข้าไปทุกที
เพิ่งมีการเปิดเผยผลประกอบการของบาร์เซโลน่าในฤดูกาลที่แล้ว 2019/2020 ปรากฏว่าหนี้พุ่งพรวด 1,173 ล้านยูโร ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าตกใจอย่างมาก
พวกเขาติดค้างเงินดีลนักเตะรวมแล้ว 19 สโมสรด้วยกัน คือได้ผู้เล่นมาแล้วแต่ยังจ่ายค่าตัวไม่ครบ
อย่างเคสของ ฟิลิปเป้ คูตินโญ่ ยังค้างจ่ายถึง 70 ล้านยูโร เพิ่งผ่อนส่งธนาคารไม่ถึงครึ่งหนึ่งด้วยซ้ำทั้งที่ไปดึงมาจากลิเวอร์พูลตั้งแต่มกราคมปี 2018 ผ่านมา 3 ปีเต็มๆแล้ว
ในขณะเดียวกันก็ติดค้างอาแจ็กซ์ อัมสเตอร์ดัมสำหรับค่าตัวของ เฟร็งกี้ เดอ ย็อง อีก 64 ล้านยูโร
นักเตะบางคนย้ายที่อื่นแล้วอย่าง อาร์ตูโร่ วีดาล ก็ยังให้บาเยิร์น มิวนิคไม่ครบจำนวนเหลืออีกเกือบล้านยูโร
บาร์ซ่าเป็นหนี้ทั้งสโมสรใหญ่ๆและขนาดเล็กอย่างลาส ปัลมาส , อัลบาเซเต้ , เออิบาร์ หรือบียาร์เรอัล รวมทั้งทีมต่างชาติทั้งพัลเมรัส , แอตเลติโก้ มิเนโร่ , บอร์กโดซ์แม้กระทั่งบราก้า
อาจจะใช่ตรงที่ว่าหนี้เหล่านี้มีระยะเวลาในการจ่ายตามที่สองสโมสรคู่ค้าตกลงกันไว้ ไม่ใช่หมายถึงเบี้ยวไม่ยอมจ่ายเลยหรือล่าช้า
แต่การเป็นหนี้จำนวนมากขนาดนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะปลดได้ในเร็ววัน ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่ทรุดหนัก ไหนจะต้องเจอโควิด-19 ระบาดยาว จนถึงขณะนี้จะครบปีแล้วที่แฟนบอลไม่ได้เข้าสนาม
รายได้หลักของบาร์ซ่าที่หล่อเลี้ยงองค์กรคือค่าตั๋วเข้าชมเกมและสปอนเซอร์ที่แห่กันมาสนับสนุน
พอไม่มีแฟนบอลเรือนแสนเข้ามาชมในแมตช์เหย้า แต่ละนัดคิดเป็นเงินแล้วนับสิบล้านยูโรด้วยกัน หากคิดทั้งซีซั่นก็ตกหลายร้อยล้านยูโร
เงินส่วนที่หายไปทำให้ความคล่องที่เคยมีเปลี่ยนเป็นฝืดเคืองทันที ทุกอย่างตึงแน่นไปหมด จนต้องออกมาตรการต่างๆเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย อย่างเช่นให้พวกผู้เล่นพร้อมใจกันลดค่าจ้างลง
อย่างไรก็ดีช่วงที่ โจเซป บาร์โตเมว ยังเรืองอำนาจ ความสัมพันธ์กับผู้เล่นหลักหลายคนเต็มไปด้วยความขัดแย้งโดยเฉพาะขาใหญ่ที่เต็มไปด้วยอิทธิพลอย่าง ลิโอเนล เมสซี่ จึงยากที่จะได้รับความร่วมมือ
ในขณะเดียวกัน บาร์โตเมว มักใช้สื่อเป็นเครื่องมือพูดแทนตัวเอง มีอะไรไม่ยอมคุยเพื่อทำความเข้าใจกันจนทุกอย่างบานปลาย
สิ่งที่เราต้องยอมรับเลยก็คือการบริหารที่ผิดพลาด ประมาทเลินเล่อไม่รัดกุม จนบาร์เซโลน่าต้องตกอยู่ในชะตากรรมอย่างที่เห็น
นับตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งประธานในปี 2014 บาร์โตเมว หลายอย่างเริ่มต้นได้สวยงาม บาร์เซโลน่าประกาศักดาความยิ่งใหญ่รวบ 3 แชมป์ทั้งลาลีกา , โกปา เดล เรย์และยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก
นั่นทำให้ บาร์โตเมว ยิ่งได้ใจ โดนที่ไม่ทันไหวตัวว่าที่เห็นนั่นคือภาพลวงตา
เขารื้อนโยบายเก่าๆ อย่างเช่นเน้นการปั้นนักเตะจากเยาวชนที่มีศูนย์ฝึกลา มาเซียเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ หันมาซื้อซูเปอร์สตาร์แทน
เหมือนไปก็อปปี้แนวทางกาลาคติกอสของเรอัล มาดริด อีกทั้งอยากจะเอาใจกองเชียร์ตามที่เคยให้คำมั่นสัญญาไว้ว่า หากได้เป็นประธานรับรองได้เลยว่านักเตะทุกคนต่างอยากย้ายมาบาร์ซ่าทั้งนั้น
ด้วยความที่เป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาก่อน บาร์โตเมว จึงมั่นใจว่าจะพาสโมสรประสบความสำเร็จทั้งในและนอกสนาม
ไม่ว่าจะรายได้มหาศาลจะต้องหลั่งไหลเข้าสโมสร รวมถึงประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง
เขาเชื่อว่าการใช้เงินจะช่วยได้ทุกครั้ง ซึ่งนั่นคิดผิดอย่างแรง การบริหารทีมฟุตบอลมีความซับซ้อนและแตกต่างจากการทำธุรกิจมากมาย
บาร์โตเมว เข้ามาเหมือนไม่มีองค์ความรู้ ใจเร็ว ด่วนได้ อาจเพราะเห็นทีมประสบความสำเร็จในปีแรก
ไม่ผิดนักหากจะบอกว่าประธานคนนี้คือผู้นำความล้มเหลวและหนี้สินมาสู่บาร์เซโลน่าอย่างแท้จริง
------------------
นโยบายเดินหน้าซื้อผู้เล่นของบาร์เซโลน่าเกิดขึ้นตลอดในยุค โจเซป บาร์โตเมว เป็นใหญ่
นักเตะหลายคนที่ย้ายมา ไม่สามารถรีดศักยภาพอย่างที่หวังได้ ไม่ว่าจะเป็น อองตวน กรีซมันน์ , ฟิลิปเป้ คูตินโญ่ , อุสมาน เดมเบเล่ หรือ ฟรานเชสโก้ ตรินเกา
แล้วแต่ละรายบาร์ซ่าปิดดีลมาด้วยเงินก้อนใหญ่ทั้งสิ้น อย่างสามคนดาวดังตัวรุกดังกล่าวค่าตัวรวมกันมากกว่า 350 ล้านยูโร ทว่าไม่อาจช่วยอะไรได้เป็นชิ้นเป็นอันเลย
คูตินโญ่ โชว์ผลงานต่ำกว่าตอนช่วยลิเวอร์พูลมาก จนต้องปล่อยให้บาเยิร์น มิวนิคยืมตัว ก่อนส่งกลับมาไม่ใช่อ็อปชั่นซื้อขาด
ส่วน กรีซมันน์ ก็ไม่สามารถพึ่งพาได้อย่างหวัง การประสานงานกับ เมสซี่ ก็ยังติดขัดมีปัญหา
ด้าน เดมเบเล่ ไม่ต้องพูดถึง บาร์โตเมว ยอมจ่ายค่าตัวตามที่โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ร้องขอมาแบบเกินจริง ก่อนจะรู้ว่าแทบไม่คุ้มค่าเอา
นอกจากเจ็บบ่อยแล้ว พฤติกรรมนอกสนามก็แย่อีกต่างหาก บ่งบอกถึงทัศนคติที่มีปัญหา
ไม่ใช่แค่ค่าตัวอย่างที่ที่สร้างหนี้อีนุงตุงนังให้กับบาร์เซโลน่า แต่ค่าจ้างนักเตะก็ยังกลายเป็นภาระสำคัญด้วย
ว่ากันว่าหลังการระบาดของโควิด-19 รายได้ของทีมกว่า 80 เปอร์เซนต์ถูกส่งต่อไปให้ผู้เล่น ซึ่งดาวดังหลายคนรับแต่ละปีสูงมาก
ลำพังแค่ เมสซี่ คนเดียวก็ร่วม 700,000 ยูโรต่อสัปดาห์ ไม่นับโบนัสต่างๆในเรตสูงลิบ ส่วนพวก กรีซมันน์ , เดอย็อง , เซร์กี้ บุสเก็ตส์ ก็ฟันนิ่มคนละ 300,000 ยูโร
ที่แย่หนักไปกว่านั้นก็อย่างที่บอกไว้เลยว่า บาร์โตเมว บริหารจัดการแบบขาดความรอบคอบรัดกุม ชะล่าใจคิดว่าจะต้องมีเงินมาหมุนเวียนตลอดเวลา แฟนบอลจะเข้ามาเต็มสนาม สปอนเซอร์จะวิ่งกันเข้าหา
การไม่มีแผนสำรองเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นแบบนี้ จะโทษใครไม่ได้เลยนอกจาก บาร์โตเมว
หนี้สินที่พอกพูนเพิ่มขึ้นทุกวัน ส่งผลให้การซื้อผู้เล่นสักคนติดขัดไปหมด ลำพังแค่จ่าย 10 ล้านยูโรแลกกับ เมมฟิส เดอปาย ยังไม่มีปัญญาหรือ เอริก การ์เซีย ซึ่งค่าตัวไม่ได้แพงเลยราว 6 ล้านก็ต้องเบรกไว้ก่อน
จากสโมสรที่มีเงินใช้จ่ายคล่องมือ บาร์เซโลน่าต้องตกอยู่ในสภาพตรงกันข้าม ท่ามกลางแสข่าวอาจล้มละลาย
ปัจจุบันอาจยังห่างไกลกับคำนั้นอยู่ แต่หากปล่อยไว้ให้เป็นแบบนี้เรื่อยๆ สิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดอาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน
แฟนบอลคงได้แต่หวังว่าประธานคนใหม่ที่เข้ามาทำหน้าที่จะนำนาวาให้รอดพ้นจากปากเหยี่ยวปากกาครั้งนี้ได้
ส่วน บาร์โตเมว ชื่อนี้สาวกบาร์เซโลน่าคงจำได้ไม่ลืม เพราะนี่คือการกลัดกระดุมเม็ดแรกผิด
และใครกำลังหาเว็บไซด์ที่ดีจัดจนจำได้ไม่ลืมก็ต้องนี่เลย MYSBOBET ติดต่อเลยที่ https://line.me/R/ti/p/@my-sb99 หรือ 08-0003-1188 / 08-0003-117
---------------------------------------------
เห็นก่อน อ่านก่อน !!
กด "ติดตาม" และเลือก "เห็นโพสต์ก่อน (See First) "
https://www.facebook.com/cheerball/
บทความดีๆ เรื่องราวกีฬาฟุตบอล
เรานำเสนอให้คุณได้อ่านทุกวัน
---------------------------------------------